Thursday, February 27, 2014

เพย์สบายพร้อมดันตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยสู่ตลาดโลก




เพย์สบายพร้อมดันตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยสู่ตลาดโลก ผุดบริการใหม่รองรับการตลาดยุคโซเชียลคอมเมิร์ซ
27 กุมภาพันธ์ 2557 – เพย์สบายผู้นำในการให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์และระบบการชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย และเป็นบริษัทในเครือดีแทค ลุยครบ 1 ทศวรรษสร้างปรากฏการณ์เจ้าแรกอีวอลเล็ต สนับสนุนตลาดอี-คอมเมิร์ซในไทยสู่ตลาดโลก เผยยอดการชำระเงินผ่านทางระบบของเพย์สบายในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 2 พันล้านบาท เตรียมต่อยอดแนะนำบริการใหม่ในปีนี้ มั่นใจช่วยกระตุ้นทั้งเศรษฐกิจและวงการอี-คอมเมิร์ซไทยให้โตยิ่งขึ้น
นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพย์สบาย จำกัด กล่าวว่าตลอดระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมาเพย์สบายเป็นเจ้าแรกในการให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ในประเทศไทย และให้บริการระบบการชำระเงินออนไลน์ สามารถช่วยกระตุ้นวงการอี-คอมเมิร์ซของประเทศไทย พร้อมทั้งช่วยเร่งการเติบโตของการจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์ สนองพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่หันมาช้อปปิ้งบนออนไลน์ได้สนุกอย่างปลอดภัย และช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจภายในประเทศสามารถเข้าถึงตลาดเป้าหมายใหม่ทั้งใน ประเทศและกลุ่มผู้ซื้อในต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการทำตลาดและฐานกำไรทางการค้าให้กับผู้ประกอบการได้ มากขึ้น อีกทั้งหมดปัญหาเรื่องช่องทางการรับชำระเงินและความลำบากในการเชื่อมต่อระบบ ต่าง ๆ
เพย์สบายมีรายได้เติบโต 25% ในปี พ.ศ. 2556 เมื่อเทียบกับรายได้ปีก่อน โดยมียอดการชำระเงินผ่านทางระบบของเพย์สบายในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 2 พันล้านบาท และปี พ.ศ. 2557 ตั้งเป้ารายได้เติบโตอีก 35% โดยรวมที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้ใช้บริการและร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เติบโตพร้อมกับกระแสโมบายล์อินเทอร์เน็ตบน 3G บูม และยอดการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเติบโตต่อเนื่อง จากเดิมพฤติกรรมที่ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเปลี่ยนเป็นออนไลน์เชื่อม ต่อโซเชียลมีเดียได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา และสามารถช้อปปิ้งสินค้าผ่านหน้าจอได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเติบโตของออนไลน์แบบใหม่ ๆ เช่น โทรศัพท์ ธุรกิจเว็บดีล คูปองส่วนลด เกมส์ออนไลน์ และ ดิจิตอลคอนเทนท์ ที่ใช้ช่องทางชำระเงินผ่านเพย์สบาย โดยสัดส่วนการชำระเงินทั่วไปแต่เดิมจะเน้นจ่ายผ่านเครดิตการ์ดเป็นหลัก แต่เพย์สบายได้ให้บริการที่หลากหลายช่องทางตามกระแสพฤติกรรมลูกค้า โดยปีที่ผ่านมาจะมีสัดส่วน ชำระผ่านเครดิตการ์ด 38%, ช่องทางเงินสด 32%, และอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง 30% เพย์สบายจะเพิ่มช่องทางและปรับบริการไปตามเทรนด์และสัดส่วนนายสมหวัง กล่าว
เพย์สบายเป็นตัวแทนรับชำระเงินที่อยู่เบื้องหลังให้ร้านค้า SME เติบโต ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยให้บริการกับร้านค้าออนไลน์กว่า  10,000 แห่ง สร้างมูลค่าธุรกรรมให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของประเทศไทย เติบโตโดยมียอดการชำระเงินผ่านทางระบบของเพย์สบายมากกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีร้านค้าที่สมัครใช้บริการเพย์สบายเพิ่มขึ้นอีก 1,000 แห่ง และจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดส่วนนี้เติบโตขึ้นเป็น 10 % ปัจจุบันมีผู้สมัครเปิดบัญชีเพย์สบายเพื่อใช้ในการรับ-ส่งเงินกว่า 500,000 ราย ในจำนวนนี้จะเป็นสัดส่วนฐานลูกค้าผู้ชาย 51% และผู้หญิง 49% โดยช่วงอายุ 21-30 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 32%, รองลงมาคือช่วงอายุ 31-40 ปี มีจำนวน 28%, ช่วงอายุ 41-50 ปีมีจำนวน 16%, ช่วงอายุไม่เกิน 20 ปีมีจำนวน 13% และช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไปมีจำนวน 11% ตามลำดับ
นายสมหวัง กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ Internet for All ของดีแทคที่มีเป้าหมายต้องการให้คนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้อย่างเท่าเทียม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยรวมให้กับประเทศ ในปีนี้เพย์สบายจึงนำมาต่อยอดโดยปรับสู่ 3 กลยุทธ์หลักคือ 1. เพิ่มสินค้าและบริการใหม่ให้กับร้านค้าออนไลน์และผู้ใช้งานผ่านเพย์สบาย 2. เพิ่มช่องทางและขยายการตลาดการชำระเงินในออนไลน์ 3. เสริมสร้างระบบสู่ความแข็งแกร่งรองรับความปลอดภัยใช้งานในโลกออนไลน์ด้วย มาตรฐานระดับโลก โดยทั้งหมดนี้จะเริ่มดำเนินการแนะนำสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นวงการอี-คอมเมิร์ ซของประเทศไทยในราวไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป
กลยุทธ์บริการใหม่ที่จะแนะนำสู่ตลาดออนไลน์และวงการอี-คอมเมิร์ซในปีนี้ได้แก่ แคชการ์ด (Cash card) หรือบัตรเงินสดใช้จ่ายผ่านโลกออนไลน์, Virtual prepaid card ที่ช่วยทำให้ผู้มีบัญชีกับเพย์สบายสามารถช้อปปิ้งบนออนไลน์ได้กับทุกเว็บไซต์ผ่านเครือข่าย Visa, MasterCard, โมบายล์ เครดิตการ์ด (Mobile credit card) หรือการนำบัตรเครดิตเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการ, Payment On Delivery หรือ บริการ POD ที่จะให้ร้านค้าสามารถรับชำระเงินที่ปลายทางได้
สำหรับ กลยุทธ์ช่องทางที่จะขยายในปีนี้จะรุกในส่วนที่ลูกค้าสามารถชำระเงินสดได้ เพิ่มขึ้นที่เคาน์เตอร์ของผู้ให้บริการ อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการชำระเงินแบบผ่อนออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตกับทุก ธนาคารในประเทศไทย พร้อมทั้งยังมี การชำระเงินจากต่างประเทศแบบใหม่ เช่น Alipay
สุดท้าย กลยุทธ์เสริมสร้างระบบสู่ความแข็งแกร่งรองรับความปลอดภัยใช้งานเพย์สบายจะเพิ่มระบบ PCI DSS เป็นมาตรฐานการเก็บรักษาข้อมูลบัตรเครดิต เพิ่มความปลอดภัยทางการเงินระดับโลกให้กับลูกค้าที่ทำการชำระเงินผ่านระบบเพ ย์สบาย ป้องกันการโจรกรรมในโลกออนไลน์ และ Tokenization เป็นระบบจัดเก็บ ข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าในการชำระเงินให้สะดวก ปลอดภัยขึ้น โดยที่ลูกค้าทำการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตในครั้งแรก เมื่อระบบจดจำค่าไว้เรียบร้อยแล้ว ครั้งต่อไปลูกค้าจะไม่ต้องกรอกรายละเอียดบัตรเครดิต ก็สามารถชำระเงินได้ทันทีบนความปลอดภัยที่มั่นใจได้สูงสุด โดยได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก นอกจากนี้ คอลล์เซ็นเตอร์ของเพย์สบายจะเพิ่มการรองรับลูกค้าเป็น 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดอีกด้วยนายสมหวัง กล่าวในที่สุด
 
เกี่ยวกับเพย์สบาย
บริษัท เพย์สบาย จำกัด (www.paysbuy.com) เป็นผู้ให้ บริการรับ/ส่งเงิน ชำระเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยด้วยช่องทางการเติมเงิน และการชำระเงินที่หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัญชีธนาคาร และเงินสด
เพย์สบายก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยมี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน   ปี พ.ศ. 2550 ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้าน บาท  เพย์สบายได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัตรเติมเงินอิเล็กทรอนิกส์ ใบอนุญาตให้เป็นผู้ให้บริการทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแล และได้รับการรับรองความน่าเชื่อถือจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกระทรวง พาณิชย์

กปน. จับมือ สถาบันน้ำฯ


กปน. จับมือ สถาบันน้ำฯ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคกลาง
รองรับและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำภาคกลาง
               
                นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) และ นายเจน นำชัยศิริ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War Room) ภาคกลาง ณ อาคารศูนย์ฝึกอบรมกลาง ชั้น 2 สำนักงานใหญ่ กปน. เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำของพื้นที่ภาคกลาง 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และ ฉะเชิงเทรา

******************************


กปน. จับมือ สถาบันน้ำฯ ตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำ
รองรับและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำภาคกลาง
             วันนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2557) เวลา 09.30 น. ณ อาคาร 30 ปี ชั้น 1 ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานใหญ่ การประปานครหลวง (กปน.) นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง และ นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคกลาง เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำของพื้นที่ภาคกลาง 7 จังหวัด   
                นายเจน เปิดเผยว่า จากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรน้ำ ซึ่งจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเมื่อปี 2548 สถาบันน้ำฯ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคตะวันออกขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของการตัดสินใจร่วมกันในด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อเสนอที่ได้ มาประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน จากความสำเร็จดังกล่าว สถาบันน้ำฯ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ให้ครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศไทยรวม 20 จังหวัด เพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการของแต่ละพื้นที่ ดังนี้
                        1. ศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การผลิต และการท่องเที่ยว ตามความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของภาคตะวันออกอย่างมีประสิทธิภาพ สถานที่ตั้ง ณ สำนักชลประทานที่ 9 กรมชลประทาน จังหวัดชลบุรี
                2. ศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคกลาง (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และ ฉะเชิงเทรา) เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทน้ำเพื่ออุตสาหกรรม และการนำน้ำทิ้งของกรุงเทพฯ มาจัดทำเป็นน้ำเพื่ออุตสาหกรรม สถานที่ตั้ง ณ การประปานครหลวง สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ
                3. ศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชากรในพื้นที่ สร้างศักยภาพพลังงานทดแทนทุกรูปแบบ และสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูก รองรับการเจริญเติบโตของภาคการผลิต สถานที่ตั้ง ณ สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จังหวัดขอนแก่น
                4. ศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคใต้ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค การผลิตและการท่องเที่ยวตามความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานที่ตั้ง ณ เขื่อนรัชประภา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                นายธนศักดิ์ กล่าวว่า กปน. และสถาบันน้ำฯ  ได้ประสานความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านทรัพยากรน้ำและการประปา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยในปีที่ผ่านมาทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อหารือทางวิชาการ (MOD) จัดทำหลักสูตรผู้บริหารน้ำใส (Water Champion) เพื่อพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ให้มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตน้ำประปา เพื่อการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ร่วมกัน ในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำ (War room) ภาคกลาง เพื่อเป็นศูนย์รวมในการสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากการบูรณาการข้อมูลแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบของพื้นที่ภาคกลาง รวมทั้งการใช้น้ำเพื่อการผลิตและบริการประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ กปน. อันจะช่วยในการส่งเสริมการลงทุนและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป    
*********************************
กองเผยแพร่ข่าว  ฝ่ายสื่อสารองค์กร  
โทร.0 2504 0123 ต่อ 1109 , 1110   
โทรสาร 0 2503 9563

Tuesday, February 11, 2014

ยอดจองสิทธิ์ ของ ธอส. ในงาน “Money Expo Pattaya 2014”


ยอดจองสิทธิ์ผลิตภัณฑ์การเงินของ ธอส. รวมกว่า 5,200 ล้านบาท
ในงาน “Money Expo Pattaya 2014

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธานเปิดบูธธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในงานมหกรรมการเงินพัทยา ครั้งที่ 4 หรือ Money Expo Pattaya 2014 โดยมีนางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยนายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงิน MONEY EXPO และนายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ซึ่ง ธอส.ได้เข้าร่วมออกบูธเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินครบวงจร ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัลคลิฟ พัทยา จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยประชาชนตอบรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ ธอส. ทั้งสินเชื่อบ้าน เงินฝาก และบ้านมือสองเป็นอย่างดี มียอดจองสิทธิ์ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 5,200 ล้านบาท  

ฝ่ายสื่อสารองค์กร

Monday, February 3, 2014

PTTGC เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร

PTTGC เพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ก้าวสู่เป้าหมาย ผู้นำธุรกิจเคมีระดับโลก
นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ร่วมเปิดงาน GC OpEx (GC Operational Excellence Forum 2014) เพื่อส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยพนักงานในหน่วยงานต่างๆ ของบริษัทฯ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญให้ พีทีที โกลบอลเคมิคอลก้าวไปสู่เป้าหมาย ผู้นำธุรกิจเคมีระดับโลก (Top Quartile Performance)

กทท.ร่วมกับจังหวัดระนองศึกษาฯ โครงการท่าเรือ ย่างกุ้ง

กทท.ร่วมกับจังหวัดระนองศึกษาฯ โครงการท่าเรือพี่น้อง ทรน.-ย่างกุ้ง
                 นายสุรพงษ์ รงศิริกุล รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ (บธ) นายอดิสรณ์ อโนทัยสินทวี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กทท. (บธ) นายชาญศักดิ์ ศิริ ผู้อำนวยการสำนักท่าเรือภูมิภาค (อสทภ.) และคณะได้ประชุมหารือร่วมกับ นายศุภวัชร ศักดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง และผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการท่าเรือพี่น้อง ท่าเรือระนอง (ทรน.)-ย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ ณ ห้องประชุมศูนย์ราชการ จังหวัดระนอง เมื่อเร็ว ๆ นี้
                  การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมหารือและระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระนอง ในการกำหนดแนวทาง นโยบาย พร้อมรับทราบปัญหาและอุปสรรคในการใช้บริการขนส่งสินค้าผ่าน ทรน. ซึ่งจะทำให้ ทรน. เป็นประตูหลักในการขนส่งสินค้าในแถบทะเลอันดามัน และสามารถเชื่อมโยงการขนส่งไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC ต่อไป
                  สำหรับผลการประชุมนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะร่วมกันส่งเสริมการใช้ ทรน.ให้เกิดความคุ้มค่าทางธุรกิจมากที่สุด โดย กทท.จะเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนด้านบุคลากร เครื่องมือทุ่นแรง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจที่รองรับอย่างชัดเจน โดยจะมีการสัมมนาและจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม เพื่อสำรวจความต้องการการใช้ท่าเรือ การส่งเสริมธุรกิจ และการวางแผนงานรองรับการให้บริการต่าง ๆ นอกจากนี้จะทำการศึกษาด้านการส่งเสริมการค้าและการขนส่งสินค้า โดยการจับคู่สินค้าที่มีศักยภาพ (Business Matching) ระหว่าง ทรน.และท่าเรือในเมืองย่างกุ้ง เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มศักยภาพเพียงพอในการเชื่อมโยงสินค้าและบริการไปยังท่าเรือย่างกุ้ง รวมทั้งท่าเรือปีนัง ทั้งนี้ โครงการท่าเรือพี่น้องฯ อยู่ในแผนการส่งเสริมให้มีการขนส่งสินค้าผ่าน ทรน.ไปยังย่างกุ้ง  ของจังหวัดระนองและสำนักท่าเรือภูมิภาค (สทภ.) ของ กทท. โดยคาดว่าจะมีการขนส่งสินค้าและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้นที่ ทรน.  อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการรองรับการขยายตัวทางการค้าและการขนส่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อีกด้วย