Saturday, June 30, 2012

ธอส. ร่วมถวายพระพรวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา



ธอส. ร่วมถวายพระพรวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) พร้อมคณะผู้บริหาร เป็นผู้แทนธนาคาร ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เพื่อถวายความจงรักภักดี เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ณ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี

 ฝ่ายสื่อสารองค์กร

การซ่อมท่อประปาในอ่างผ้าใบ นวัตกรรมใหม่เพื่อคุณภาพน้ำที่ดี

 การตรวจวัดคุณภาพน้ำหลังซ่อมท่อประปา ก่อนส่งจ่ายถึงผู้ใช้น้ำ

 การซ่อมท่อประปาแบบเดิม 


 นวัตกรรมใหม่ ซ่อมท่อในอ่างผ้าใบ  ลดปัญหาเรื่องน้ำขุ่นหลังซ่อมท่อ

บทความเรื่อง การซ่อมท่อประปาในอ่างผ้าใบ นวัตกรรมใหม่เพื่อคุณภาพน้ำที่ดี

องค์กรที่ต้องการความก้าวหน้า และยั่งยืน จะต้องไม่หยุดนิ่งในการคิดค้น และพัฒนากระบวนงานใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการให้บริการ และความพึงพอใจสูงสุดแก่ประชาชน
การประปานครหลวง (กปน.) เป็นองค์กรที่ให้บริการน้ำประปาที่สะอาดแก่ประชาชนกว่า 10  ล้านคน ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  โดยตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพน้ำประปาที่มีต่อสุขอนามัยของผู้ใช้บริการ จึงได้ทุ่มเทงบประมาณ   เพื่อควบคุมดูแล และตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาให้มีคุณภาพดีทัดเทียมกับมาตรฐานน้ำดื่ม เริ่มตั้งแต่ระบบผลิตที่โรงงานผลิตน้ำประปา จนถึงระบบท่อจ่ายน้ำที่ส่งน้ำประปาไปถึงบ้านประชาชนทุกหลังคาเรือน  ถึงแม้กระนั้น ในระบบท่อจ่ายน้ำประปาก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาท่อแตกรั่ว ซึ่งจำเป็นต้องเร่งซ่อมแซมให้เสร็จโดยเร็ว มิฉะนั้นประชาชน  จะได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีน้ำประปาใช้ แต่บางครั้งการเร่งซ่อมท่อประปาแตกรั่วที่เรียกว่า ซ่อมเปียก กล่าวคือ การซ่อมท่อที่ไม่สามารถรอสูบน้ำให้แห้งก่อนดำเนินการ เนื่องจากสภาพหน้างานมีน้ำใต้ดิน และน้ำท่วมขัง จึงทำให้บางครั้งน้ำสกปรกจากภายนอกสามารถเข้าไปในเส้นท่อได้ และแม้ว่าภายหลังการซ่อมท่อประปา กปน.จะดำเนินการล้างเส้นท่อ เพื่อไล่น้ำสกปรกที่เล็ดลอดเข้าไป และใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค พร้อมทั้งตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนเปิดจ่ายน้ำก็ตาม ประชาชนก็ยังสังเกตเห็น และร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ก็บั่นทอนภาพลักษณ์ในการให้บริการ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นว่าน้ำประปาดื่มได้ลดลงในทันที ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวหน่วยงานซ่อมท่อประปาของสำนักงานประปาสาขาบางบัวทอง (สสบท.) กปน. จึงได้คิดค้นวิธีการซ่อมท่อแบบใหม่ นั่นคือ การซ่อมท่อในอ่างผ้าใบ
การซ่อมท่อในอ่างผ้าใบ สามารถแก้ปัญหาการซ่อมท่อที่ไม่สามารถสูบน้ำให้แห้งจากหลุม ซึ่งส่งผลให้ต้อง    ซ่อมเปียกอันเป็นที่มาของการร้องเรียนน้ำประปาขุ่น  โดยปกติเมื่อเกิดเหตุท่อแตกรั่ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือปิดการจ่ายน้ำ ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนไม่มีน้ำใช้ จากนั้นก็จะขุดหน้าดิน เปิดหลุมเพื่อหาจุดรั่ว และเร่งสูบน้ำออกจากหลุมให้ระดับน้ำลดลงจนสามารถมองเห็นจุดรั่ว ก่อนที่จะดำเนินการซ่อมท่อประปา ซึ่งกว่าจะสูบน้ำให้แห้ง ก็ต้องใช้เวลานาน หรือจนบางครั้งต้องซ่อมเปียก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่นับจากนี้ไป การซ่อมท่อประปาในอ่างผ้าใบได้เกิดขึ้นแล้ว โดยการใช้ผ้าใบที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ สอดใต้ท้องท่อประปา ปิดหัว และท้ายท่อให้แน่น      จากนั้นใช้ซีลติดขอบผ้าใบ และขึงผ้าใบให้เป็นรูปอ่าง พร้อมสูบน้ำที่ยังค้างท่อออกจากอ่างผ้าใบซึ่งจะมีปริมาณน้ำที่ไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการสูบน้ำจากหลุมโดยตรง จึงสามารถสูบน้ำให้แห้งได้ในเวลาไม่นาน จากนั้นเลื่อยท่อส่วนที่แตกออก   นำท่อใหม่มาใส่ทดแทน นอกจากการทำงานที่ง่ายขึ้นแล้ว น้ำสกปรกจากภายนอกไม่สามารถเข้าไปในเส้นท่อได้อีกด้วย และข้อดีอีกประการหนึ่งคือ ลดการร้องเรียนจากผู้ใช้น้ำ ถ้าเป็นการซ่อมท่อแบบเก่าต้องปล่อยน้ำล้างท่อเป็นเวลานาน แต่วิธีนี้สามารถลดเวลาที่ใช้ในการล้างท่อได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่มีน้ำสกปรกไหลเข้าไปในเส้นท่อ จึงสามารถเปิดจ่ายน้ำให้แก่ประชาชนได้เร็วขึ้น  และจะตรวจสอบคุณภาพน้ำในด้านปริมาณคลอรีน และความขุ่นให้ได้มาตรฐานอีกครั้งก่อนส่งจ่ายถึงบ้านผู้ใช้น้ำ
สสบท. ได้ทดลองซ่อมท่อในอ่างผ้าใบมาระยะหนึ่งแล้ว พบว่าช่วยลดเวลาในการซ่อมท่อประปา ค่าใช้จ่ายก็
ไม่เพิ่ม เนื่องจากผ้าใบราคาผืนละ 1
,500 บาท สามารถนำกลับไปใช้ได้อีกหลายครั้ง และที่สำคัญไม่มีการร้องเรียน     เรื่องน้ำประปาขุ่นเลย
          นี่คือความตั้งใจจริงในการพัฒนาการทำงานของ กปน. เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และคุณภาพ อันก่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ ส่งผลโดยตรงต่อความมั่นใจของประชาชนว่า น้ำประปานั้นสะอาดมีคุณภาพดีในขั้นดื่มได้ และเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะนำไปขยายผลใช้ในงานซ่อมท่อประปาของ กปน. ต่อไป


------------------------------------

Friday, June 29, 2012

ธอส. ประกาศผลและมอบรางวัล โครงการประกวดหนังสั้น


ธอส. ประกาศผลและมอบรางวัล โครงการประกวดหนังสั้น บ้าน...คือลมหายใจของชีวิต

นายวรวิทย์  ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นประธานในพิธีประกาศผลและมอบรางวัล ชนะเลิศ รองชนะเลิศ และ Popular Vote soy หนังสั้นโดนใจ โครงการประกวดหนังสั้น บ้าน...คือลมหายใจของชีวิต  แก่นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเจ้าของผลงานหนังสั้นคุณภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ไม่ซ้ำแบบใคร พร้อมทั้งมีการโยงเรื่องราวที่มี ธอส. ในฐานะที่เป็นผู้นำสถาบันการเงินด้านที่อยู่อาศัยที่พร้อมสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนให้มีบ้านเป็นของตนเองในทุกสถานการณ์ โดยได้รับรางวัลทุนการศึกษารวมมูลค่า 450,000 บาท  พร้อมโล่เกียรติยศ รวมถึงการนำผลงานที่ได้รับการคัดเลือกมาผลิตเป็น หนังสั้นและหรือภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารในโอกาสต่อๆ ไป กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้น ณ HOUSE RCA โรงหนังอาร์ตเฮ้าส์แห่งแรกของไทย ถนนพระราม 9
ฝ่ายสื่อสารองค์กร


--------------------------------------

ร่วมค้นหาทางออก “ไฟฟ้าไทย”

 ร่วมหาทางออกไฟฟ้าไทย : ฯพณฯ อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ที่ 4 จากซ้าย) ,นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ประธานกรรมการมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน,
 
                                                ร่วมค้นหาทางออก ไฟฟ้าไทย”                                                
กรุงเทพธุรกิจ Energy Forum ปี 2

            หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ผนึกกำลังสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย? สานต่อแนวคิดให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการหาทางออกด้านพลังงานไฟฟ้าไทยให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน
            นางสาวดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าวว่า หลังจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กับการเปิดเวทีสัมมนา Energy Forum: สมดุลพลังงานไฟฟ้าเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยั่งยืน เมื่อปี 2554 ใน 5 ครั้ง ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้า ยังถือเป็นประเด็นสำคัญที่คนประเทศไทยทุกภาคส่วนต้องตระหนัก และร่วมค้นหาแนวทางสร้างสมดุลพลังงานไฟฟ้าจากการระดมความคิดของทุกภาคส่วนในสังคม
ดังนั้น หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในฐานะสื่อกลาง และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เปิดเวทีสัมมนา Energy Forum ขึ้นอีกครั้งเป็นปีที่ 2 เพื่อสานเจตนารมณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อว่า “Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย? ซึ่งเปิดให้คนจากทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ภาคประชาชน และกลุ่มอุตสาหกรรม ร่วมแสดงความคิดเห็นค้นหาทางออกและยอมรับซึ่งกัน โดยวางเป้าหมายจัดงานใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ อุบลราชธานี พิษณุโลก ชุมพร และนครศรีธรรมราช
         สำหรับ Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย?  ที่ประเดิมจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ได้รับเกียรติจากนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขึ้นกล่าวปาฐกถาเปิดงาน พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ด้านพลังงานของประเทศไทย ถัดมาเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ข้อเท็จจริงสถานการณ์พลังงานของประเทศไทยโดยนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์  ประธานกรรมการมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน
จากนั้นเป็นเสวนาในหัวข้อ “พลังงานทดแทน โอกาสประเทศไทย?”  ซึ่งเสวนาดังกล่าวถูกแบ่งเป็น 2 ช่วงโดยช่วงที่1 ที่จัดขึ้นในช่วงเช้านั้น วิทยากรประกอบด้วย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และดร.สมศักดิ์ วัฒน์พนชาติ รองประธานคณะกรรมการพลังงาน หอการค้าไทย
            ส่วนช่วงที่ 2 จัดขึ้นในช่วงบ่าย วิทยากรได้แก่ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางสาวสุวพร ศิริคุณ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ถัดมา แบ่งกลุ่มเวิร์กชอปนำเสนอข้อสรุปแนวคิดการจัดการด้านพลังงานของประเทศในแต่ละกลุ่มย่อยมีกิจกรรมเวิร์คชอป ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้า รวมถึงทางออกด้านพลังงานของประเทศควรไปในทางทิศทางใด และรูปแบบใด
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในฐานะสื่อกลางต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เดินหน้าและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสร้างเครือข่ายการสร้างสมดุลด้านพลังงานไฟฟ้าให้เกิดความยั่งยืน เพราะถือเป็นอีกปัญหาที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทย  นางสาวดวงกมลกล่าว
 ทางรอดพลังงานไทย :  ฯพณฯ อารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาเปิดงานสัมมนา “Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย?”  ซึ่งจัดโดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อเท็จจริงพลังงานไทย : นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์  ประธานกรรมการมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน บรรยายพิเศษ ข้อเท็จจริงสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ในงานสัมมนา “Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย?” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Energy Forum ปี 2:  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ผนึกกำลังสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา “Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย?” สานต่อแนวคิดให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการหาทางออกด้านพลังงานไฟฟ้าไทยให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน
โอกาสประเทศไทย ? : ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน (ซ้าย) ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม (กลาง) และ ดร.สมศักดิ์ วัฒน์พนชาติ รองประธานคณะกรรมการพลังงาน หอการค้าไทย ขึ้นเวทีเสวนา “พลังงานทดแทน โอกาสประเทศไทย?” ในงานสัมมนา “Energy Forum : ทางเลือก ทางรอด ไฟฟ้าไทย?” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 --------------------------------------------------------